top of page
Search
adstourisme

การรณรงค์หรือการยัดเยียด กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีย


หลายคนคงทราบดีว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างไม่ใช่เรื่องใหม่ นักท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็คเกอร์ในยุคก่อนๆ คงคุ้นเคยกับภาพช้างที่ถูกนามาเดินบนท้องถนนในกรุงเทพฯเป็นอย่างดี ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในช่วงยุค 90 ถึงต้นยุคปี 2000 ถึงอย่างนั้นก็ตามมันยังคงเป็นภาพที่ทาให้รู้สึกไม่สบายใจที่ได้เห็นสัตว์ที่สง่างามเหล่านี้อยู่ท่ามกลางฉากหลังของเมืองใหญ่ที่มีรถตุ๊กตุ๊กและรถแท็กซี่วิ่งขวักไขว่บนท้องถนน และถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะห้ามไม่ให้มีการนาช้างมาเดินบนท้องถนนเมื่อหลายสิบปีก่อนแล้ว ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสวัสดิภาพและการจัดการช้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ชาวตะวันตกนั้นได้รับทราบถึงข้อมูลเหล่านี้มากน้อยเพียงใด คาตอบคือ แทบจะไม่เลย ฉันเคยเชื่อมาตลอดว่าสาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะขาดการส่งสารให้ชาติตะวันตกได้รับทราบถึงการปฏิรูปนี้อย่างเพียงพอและถูกต้อง แต่จากประสบการณ์การทางานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างมานานหลายปี ถึงตอนนี้ฉันต้องยอมรับว่าอาจเป็นเพราะชาวตะวันตกไม่ได้สนใจหรือใส่ใจที่จะรับฟังเสียงของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยต่างหาก

ชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยและข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสวัสดิภาพช้างเลย องค์กรพัฒนาเอกชนที่ดาเนินการโดยชาติตะวันตกค่อนข้างจะครอบงาและให้ร้ายชุมชนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมรับต่อรายได้ของคนยากจนที่จะได้รับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังคงลดทอนความเป็นมนุษย์ของแรงงานเลี้ยงช้างทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าไม่ได้รับการศึกษา ขาดความรู้ และมีนิสัยโหดร้าย แม้แต่กับนักวิชาการและสัตวแพทย์ที่ได้รับการศึกษาสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังได้รับการปฏิบัติแบบเดียวกัน โดยการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสวัสดิภาพช้างของพวกเขาถูกผู้มีอานาจในการตัดสินใจจากชาติตะวันตกเพิกเฉยและดูแคลนอย่างมาก สัตวแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหัวหน้าคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยถูกกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “คนรักช้าง” ชาวตะวันตกกล่าวหาอย่างต่อเนื่องบนสื่อออนไลน์ จึงเกิดความสงสัยที่ว่า ชาวตะวันตกสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสวัสดิภาพช้างหรือการท่องเที่ยวจากผู้มีความรู้ในท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด คาตอบที่ได้คือ “ไม่อย่างแน่นอน”


ไม่มีกรณีไหนที่จะชัดเจนไปกว่าร่างกฎหมาย UK Animal Abroad Bill ฉบับปัจจุบันที่พยายามจะผ่านร่างการพิจารณาในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวโดยสังเขป คือ กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ชาติตะวันตกกลุ่มเล็กๆ กาลังพยายามห้ามไม่ให้มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างในสหราชอาณาจักร ความพยายามผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ดีขึ้นต่อชีวิตของช้างแม้แต่เชือกเดียว ร่างกฎหมายนี้จะเป็นการขัดขวางเงินที่จะไปสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยังขัดขวางการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์หรือบุคลากรใดๆ ให้ดีขึ้นในทุกๆ ภาคส่วน กล่าวคือการขาดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจะส่งผลให้สวัสดิภาพของช้างนั้นแย่ลง เนื่องจากเจ้าของช้างจะขาดรายได้เพื่อนาไปดูแลช้างนั่นเอง


เพื่อให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น ร่างกฎหมายนี้ไม่ได้ห้ามการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้าง เพียงแต่ห้ามมีการจาหน่ายตั๋วหรือโปรแกรมทัวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้างในสหราชอาณาจักร นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษยังสามารถซื้อตั๋วหรือโปรแกรมเพื่อเข้าชมกิจกรรมในปางช้างได้เมื่อไปเที่ยวพักผ่อนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และอีกหลากหลายภูมิภาค) แต่จะไม่สามารถซื้อตั๋วหรือโปรแกรมดังกล่าวได้ในขณะที่ยังอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ การจากัดนี้ทาให้หลายคนสับสน เพื่อให้คลายข้อสงสัย ก็คงต้องติดตามเส้นทางของเงินกันต่อไป


กลุ่มสิทธิสัตว์ชาติตะวันตกต้องพึ่งพาเงินบริจาคทั้งหมดจากผู้อุปถัมภ์ที่มีความไม่พอใจกับการท่องเที่ยวลักษณะนี้ ซึ่งแท้จริงแล้วการจัดแสดงภาพของปางช้างที่ปฏิบัติงานได้ดีหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือในการทางานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพช้างคงไม่ช่วยทาให้องค์กรเหล่านี้ได้รับเงินบริจาคเป็นแน่ กลุ่มสิทธิสัตว์ดังกล่าวจึงต้องอาศัยเพียงภาพช้างร้องไห้เพื่อขอรับบริจาคโดยเฉพาะ (หมายเหตุ: ในทางสรีรวิทยา ช้างเอเชียไม่สามารถร้องไห้ได้ แต่เป็นการที่ดวงตาของพวกมันหลั่งของเหลวเพื่อขับไล่ฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมไม่ใช่เพราะพวกมันเศร้าหรือถูกทาร้ายทารุณกรรม)


แน่นอนว่ามันคือผลประโยชน์ทางการเงินของกลุ่มสิทธิสัตว์ชาติตะวันตกเพื่อสานต่อเรื่องเล่าเกี่ยวกับความทุกข์ทรมาน การทารุณกรรมอย่างไม่มีวันจบสิ้น และความเป็นไปไม่ได้ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้าง พวกเขาเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า การตลาดที่มีประสิทธิภาพ แต่ต้องปกปิดมันด้วยฉากหน้าของผู้ช่วยเหลือ โดยยัดเยียดทัศนคติที่ว่าคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่สามารถดูแลช้างได้หากไม่ได้รับคาแนะนาจากกลุ่มคนผิวขาวชาติตะวันตก และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ กลุ่มคนชาติตะวันตกเหล่านี้กาลังยับยั้งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และปิดปากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับช้าง เพื่อให้ทัศนคติแบบเหมารวมของคนในสังคมยังคงดาเนินต่อไป ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการเงินของพวกเขานั่นเอง


เป็นระยะเวลาหลายปีแล้วที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์และได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการดูแลสวัสดิภาพและการจัดการช้างเอเชีย งานวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่ขัดแย้งกับความเชื่อโดยทั่วไปขององค์กรพัฒนาเอกชนในชาติตะวันตกที่พึ่งพาการบริจาคจากสาธารณชนเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับการขี่ช้าง การฝึก การเพิ่มคุณค่าและการจัดการระดับความเครียดของช้างของสถานประกอบการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิจกรรมเหล่านี้ถือว่าปลอดภัยสาหรับช้างหากดาเนินการภายใต้ปัจจัยที่ถูกต้อง หากหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้ว เหตุใดชาวตะวันตกจึงเลือกที่จะมองข้ามมันไป แน่นอนว่าหากจุดประสงค์ของการวิจัยดังกล่าวเพื่อการปรับปรุงสวัสดิภาพช้างและแนวทางการจัดการผ่านการดาเนินการให้ดีขึ้นแล้ว กลุ่มสิทธิสัตว์ชาติตะวันตกจึงควรเผยแพร่งานวิจัยด้านสวัสดิภาพนี้บนเครือข่ายของตนโดยทันทีหรือไม่ แต่พวกเขากลับทาตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง และเลือกที่จะเพิกเฉยต่อการมีอยู่ของความจริงเหล่านี้อย่างหัวชนฝา จึงมีคากล่าวที่ว่า เมื่อคุณเพิกเฉยต่อสิ่งที่พิสูจน์ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเลือกความจริงในแบบของคุณเอง นั้นแสดงว่าคุณได้หยุดที่จะเป็นคนดีคนหนึ่งไปเสียแล้ว


สมาคมการท่องเที่ยวหลายๆ สมาคม ยกตัวอย่างเช่น ABTA ก็ควรถูกตาหนิพอๆ กัน ในการเพิกเฉยต่อความจริงที่พิสูจน์ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสวัสดิภาพช้าง แทนที่สมาคมเหล่านี้จะมีความรับผิดต่อสาธารณะและชื่อเสียงของตนมากกว่าที่จะไปชี้นาว่าอะไรถูกหรือผิดในชุมชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่เหนือขอบเขตความรับผิดชอบของตน แท้จริงแล้ว ABTA เพิกเฉยต่อคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญด้านช้างเอเชียมาเป็นระยะเวลานานแล้วโดยเลือกที่จะพิจารณาแต่สิ่งที่สอดคล้องกับนโยบายของตนเท่านั้น ผลจากการเลือกที่จะเชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและระงับข้อมูลตามหลักฐานนั้น อาจดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อผู้มีอานาจตัดสินใจชาติตะวันตก แต่มันส่งผลต่อชีวิตจริงในชุมชนที่ไร้สิทธิไร้เสียง ซึ่งเกิดจากทัศนคติที่ต่อต้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างจากชาติตะวันตกโดยไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ มารองรับทั้งสิ้น


เกิดความหวาดกลัวเกินกว่าที่จะยืนหยัดต่อสู้กับอุตสาหกรรมการเรียกร้องสิทธิสัตว์ที่มีมูลค่ามหาศาลหลายล้านดอลลาร์ และกลุ่มคนที่อุทิศตนเพื่อสร้างความปั่นป่วนบนโลกออนไลน์ กลุ่มการท่องเที่ยวชาติตะวันตกกลัวการถูกตราหน้าว่าทารุณกรรมสัตว์ จนถึงตอนนี้มันง่ายกว่ามากที่จะยอมก้มหัวอย่างเงียบๆ และปล่อยให้นักเคลื่อนไหวครอบงาความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การส่งสัญญาณคุณธรรมได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้รับความนิยมเช่นกัน “หยุดการทารุณกรรมช้าง” เป็นสโลแกนที่จับใจมากกว่า “เราสนับสนุนการจัดการช้างเอเชียตามหลักการเป็นรายกรณีไป” องค์กรด้านการท่องเที่ยวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่กล้าจะใส่ภาพช้างในการทาการตลาดการท่องเที่ยวของตน เพราะรู้ว่ากลุ่มคนที่สร้างความปั่นป่วนเหล่านี้ทั้งในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียจะต้องโอดครวญด้วยความไม่พอใจเมื่อนึกถึงการทารุณกรรมช้าง ข้อเรียกร้องของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งที่ดีเลิศ ในขณะที่เสียงของนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านช้างถูกกลบให้หายไป เป็นสิ่งที่น่าเศร้าอย่างมาก ที่การเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้ช่วยปรับปรุงสวัสดิภาพของช้างเลยแม้แต่น้อย



เครือข่ายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับช้างในเอเชียมีขนาดค่อนข้างเล็ก ผู้จัดการปางช้าง สัตว์แพทย์ คนดูแลสวนสัตว์ และนักวิชาการส่วนใหญ่จากทั่วโลกเป็นกลุ่มที่ให้ความร่วมมือ พวกเขาเต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูล เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสนับสนุนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ข้อโต้แย้งอันดุเดือดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างไม่ได้เกิดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพช้าง แต่เป็นกลุ่มสิทธิสัตว์ชาติตะวันตกที่ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บิดเบือน และเผยแพร่ความเข้าใจผิดนี้ทางสื่อออนไลน์ การโฆษณาชวนเชื่อ และส่งเสริมทัศนคติแบบเหมารวมต่อแรงงานเลี้ยงช้างทุก คน ภาพถ่ายเก่าๆของช้างที่ถูกทาร้ายยังคงตอกย้า และไม่ได้สื่อถึงความเป็นจริงในปัจจุบันเลย อารมณ์ความรู้สึกยังคงอยู่เหนือทุกสิ่งแม้ว่าวิทยาศาสตร์กาลังพยายามอธิบายถึงความจริงทั้งหมดอยู่ก็ตาม


ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ไม่มีคุณสมบัติในการจัดการอนุรักษ์หรือประสบการณ์ในปางช้างมาก่อน แต่พวกเขายังอวดอ้างถึงความชอบธรรมเกี่ยวกับช้างมากจนเชื่อว่าความคิดเห็นของพวกเขามีคุณสมบัติที่เหนือกว่านักวิชาการ สัตวแพทย์ และผู้จัดการปางช้างที่ได้รับการยอมรับยกย่องทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี่ไม่ใช่อคติโดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้า แต่มันคือการจงใจเหยียดเชื้อชาติอย่างโจ่งแจ้ง


การล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างส่งผลกระทบต่อชุมชนที่เปราะบางทางการเงินที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์จากการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อจากปางช้างเท่านั้น ยังขยายตัวไปสู่เกษตรกรในท้องถิ่นให้มีรายได้ที่มั่นคงจากการรับจ้างปลูกหญ้าและอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง แรงงานหญิงได้รับการจ้างงานในปางช้าง เด็กหญิงมีทุนเพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอ มีการก่อสร้างสะพานในชุมชน และจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากรายได้ที่เกิดขึ้นในชุมชนการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้าง แต่ชาวตะวันตกไม่ต้องการที่จะได้ยินสิ่งเหล่านี้ พวกเขาให้ความสนใจและยังรู้สึกโกรธแค้นกับภาพช้างที่ถูกล่ามโซ่เท่านั้น พวกเขารู้แต่ว่าช้างต้องเผชิญกับความทุกข์ยากตลอดชีวิต พวกเขารับรู้และเชื่อแบบนั้นเพราะสื่อโฆษณาของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์บอกเช่นนั้น แน่นอนว่าถัดจากข้อมูลเหล่านั้น จะมีปุ่ม"บริจาค" ขนาดใหญ่ขอรับการบริจาคจากผู้เห็นใจทันที


ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างในชุมชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมานานนับพันปี การแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับสมัยใหม่ช่วยให้ไม่มีการปฏิบัติตามธรรมเนียมดั้งเดิมที่ไม่พึงประสงค์อีกต่อไป ปางช้างหลายแห่งมีการดูแลทางด้านสวัสดิภาพช้างในระดับที่สูงกว่าที่พบในสวนสัตว์ในชาติตะวันตก และมีการนาแนวทางปฏิบัติในการจัดการอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มาใช้ในบริบทที่ถูกต้อง มีผู้จัดการช้างที่มีทักษะระดับสูงและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมมากมาย และมีช้างจานวนมากที่ได้รับการดูแลและมีสวัสดิภาพที่ดีเยี่ยม แต่คุณจะไม่มีทางทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ได้เลย เพราะชาวตะวันตกมีปัญหาในการยอมรับว่าคนในท้องถิ่นสามารถดูแลช้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเหยียดเชื้อชาติ อคติฝังลึกและข้อกล่าวหายังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งชาวตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างเลย ทุกสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับช้างและแรงงานเลี้ยงช้างมาจากเว็บไซต์สิทธิสัตว์เท่านั้น และนั่นคือสิ่งที่น่ากลัว


การท่องเที่ยวสามารถนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกได้หลากหลายทาง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาลใดในโลกที่เพียงพอต่อการอนุรักษ์ ดังนั้นเงินทุนจากภาคเอกชนจึงมีความจาเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดาเนินต่อไปได้ รายได้จากการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างอย่างยั่งยืนสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนและส่งผลบวกอย่างเป็นรูปธรรมต่อสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้ ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกาลังพัฒนากาลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกให้ละทิ้งโอกาสทางการท่องเที่ยวที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายนี้จากความไม่รู้ของชาวตะวันตก แน่นอนว่าจะต้องมีผู้ที่ปฏิบัติได้ไม่ดีเท่าที่ควรบ้าง ซึ่งเป็นความกังวลที่สามารถเกิดขึ้นโดยตลอดในทุกอุตสาหกรรมโดยไม่จากัดเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ถ้าหากมีกลุ่มองค์กรคุ้มครองสัตว์ในประเทศของคุณ แสดงว่าก็ย่อมจะมีปัญหาเรื่องการทารุณกรรมสัตว์ในประเทศของคุณเช่นกัน และคาถามยังคงเกิดขึ้นต่อไปว่า เหตุใดกิจกรรมการขี่อูฐในประเทศออสเตรเลียจึงได้รับคาชื่นชมมากมาย ในขณะที่การท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกตราหน้าว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ หากข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดชี้ว่าการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับช้างสามารถดาเนินการได้โดยไม่กระทบต่อสวัสดิภาพของช้าง แล้วปัญหาอยู่ที่ใด บางทีสาเหตุของปัญหาดังกล่าวอาจอยู่ที่ตัวของคุณเองก็เป็นได้


อิงกริด ซูเทอร์

ดร.อิงกริด ซูเทอร์ สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการอนุรักษ์ช้างเลี้ยงในภูมิภาคเอเชีย โดยทางานในการจัดการช้างเลี้ยงเอเชียมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และปัจจุบันดารงตาแหน่งผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Asian Captive Elephant Standards ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการประเมินตรวจสอบสถานประกอบการเกี่ยวกับช้างที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

61 views0 comments

Comments


bottom of page